กลุ่มอุตสาหกรรม พลังงานหมุนเวียน

Published

24 พฤษภาคม 2561

นายประภาศกล่าวว่า ด้านโครงการสาย สีม่วงใต้ ไปยังศาลายา ยังมีปัญหาเรื่องศูนย์ซ่อมกำลังเคลียร์ปัญหาอยู่ล่าช้า 1-2 เดือน ส่วนสายสีส้ม ด้านตะวันออก จากศูนย์วัฒนธรรมมีนบุรี ได้เริ่มดำเนินการด้านงานโยธาแล้ว ส่วนด้านตะวันตกที่จะมีการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อดำเนินงานด้านโยธา เดิมล่าช้าจากกรณีตลาดห้วยขวางแต่ขณะนี้ปัญหายุติแล้ว อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมเห็นว่าผู้เดินรถควรจะเป็นการเดินรถเส้นเดียวกันทั้งตะวันออกและตะวันตก รายเดียวกัน จึงส่งไปให้ รฟม.ทบทวนก่อน ทั้งนี้ กรณีรถไฟฟ้าสายสีแดงที่อาจจะให้ รฟม.ดำเนินการเอง 100% นั้น ขณะนี้บอร์ดพีพีพีเห็นว่าควรเป็นโครงการ พีพีพี ไม่ให้ รฟม.ทำเอง ซึ่ง รฟม.จะมีการทบทวนและเสนอโครงการมาในช่วง 1-2 เดือนนี้ ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพูที่ลงนามสัญญาก่อสร้างไปแล้วนั้น แต่ยังมีความล่าช้า เป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล ต้องดำเนินการก่อสร้างบริเวณเกาะกลางถนน ซึ่งสาย สีเหลือง บริเวณถนนศรีนครินทร์มีทางระบายน้ำของกรุงเทพมหานครอยู่ ซึ่งเสารถไฟฟ้าอาจจะไปกีดขว้างทางระบายน้ำได้แต่ขณะนี้ได้ข้อสรุปแล้ว ด้านสายสีชมพู บริเวณถนนงามวงศ์วานจะต้องมีการใช้พื้นที่ถนนในการก่อสร้าง จะทำให้ช่องถนนแคบลงซึ่งกรมทางหลวงอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบด้านวิศวกรรมและความปลอดภัย ซึ่งคาดว่าจะและสรุปผลให้ รฟม. และให้เอกชนเข้าดำเนินการก่อสร้างในช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้

นายประภาศกล่าวว่า บอร์ดพีพีพียังได้เร่งรัดให้มีการศึกษารายละเอียดโครงการ ตามพีพีพี ฟาสต์แทรค เพื่อให้การพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนในหัวเมืองต่างๆ ในต่างจังหวัด เพื่อเป็นการกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาค และบรรเทาปัญหาการจราจรหนาแน่นของหัวเมืองหลัก

อีก 5 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 240,126 ล้านบาท ได้แก่ โครงการ Rest Area ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอินนครราชสีมา โครงการ Rest Area ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่กาญจนบุรี โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา โดย รฟม.อยู่ระหว่างการศึกษา แต่อำนาจหน้าที่เดิมทำได้เฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น รฟม.จึงต้องไปยกร่างกฤษฎีกาเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการศึกษาโครงการต่างจังหวัดได้ ซึ่งโครงการเหล่านี้ตามแผนจะเกิดขึ้นในปี 2562-2563-2565 เป็นต้น แต่บอร์ดพีพีพีอยากให้เริ่มต้นศึกษาตั้งแต่ปีนี้เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น

แจงไม่เกี่ยวไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน
นายประภาศกล่าวว่า บอร์ดพีพีพีมีความกังวลเรื่องโครงการเดิมที่จะหมดสัญญาพีพีพีภายใน 5 ปี หน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องพิจารณาว่าจะทำต่อเองหรือจะเปิดให้เอกชนรายเดิมดำเนินการต่อ หรือจะเปิดประมูลใหม่ จึงให้มีการรวบรวมข้อมูลโครงการเหล่านี้ว่ามีกี่โครงการ เพราะตามกฎหมายพีพีพีเดิม ปี 2535 ที่ได้ยกเลิกไปแล้วนั้น โครงการที่มูลค่าต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ไม่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายพีพีพี ขณะที่กฎหมายพีพีพี ปี 2556 ที่ใช้ปัจจุบัน โครงการทุกโครงการต้องดำเนินการตามกฎหมายพีพีพี แต่จะแบ่งเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยจะมีการรวบรวมนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดพีพีพีในการประชุมครั้งหน้าเช่นกัน เพื่อให้หน่วยงานรับผิดชอบรับทราบและนำไปดำเนินการให้ถูกต้อง

นายประภาศกล่าวด้วยว่า สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน ระหว่างสนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิและอู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร (กม.) เป็นโครงการภายใต้พระราชบัญญัติ (...) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ..2561 ซึ่งเป็นคนละกฎหมายและโครงการไม่ต้องให้บอร์ดพีพีพีพิจารณา แต่จะมีหน่วยงานตามกฎหมายอีอีซีเป็นผู้พิจารณาและดำเนินการอยู่แล้ว